Материалы чтений памяти Б. Н. Мельниченко и С. Е. Трифонова

118 เมืองชายแดนในวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: พื้นที่และเวลาในความสัมพันธ์ไทย-ลาว BORDERLAND STUDIES IN INTERNATIONAL RELATIONS: SPACE AND TIME IN THE THAI–LAO RELATIONS ธนเชษฐ วิสัยจร T. Wisaijorn Faculty of Political Science, Ubon Ratchathani University, Ubon Ratchathani, Thailand thanachatew@gmail.com บทนำ� 1 บทความชิ้นนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations) ว่าด้วยประเด็นความสัมพันธ์ไทย - ลาว ซึ่งมุ่งศึกษาประเด็นด้านเวลา (temporal dimension) ที่ถูกมองข้ามใน การศึกษากระแสหลัก ทั้งนี้ สาเหตุที่ผู้เขียนต้องการนำ�เสนอมิติเวลาในฐานะประเด็นปัญหา (problematisation) ในทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีดังต่อไปนี้ ประการแรก โดยมากมิติของเวลา ในวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกระแสหลักจะเป็นการเขียน ประวัติศาสตร์ที่ยึดเรื่องเล่าที่รัฐศูนย์กลาง (state-centrism) และเขียนประวัติศาสตร์เป็นเส้นตรง (historicism) ของคู่ประเทศในฐานะตัวแสดงของเรื่องเล่าหลักในความสัมพันธ์ของประเทศทั้งสอง [Hutchings 2008; Chakrabarty 2008] ผลที่ตามมาคือเกิดการละเลยประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นโดย เฉพาะอย่างยิ่งเมืองชายแดนซึ่งหมายถึง เมืองที่อยู่อาณาบริเวณชายแดนอันมีพื้นที่อยู่ในรัฐทั้งสองรัฐทว่า มีเส้นเขตแดนที่ติดกัน แท้จริงแล้วเมืองชายแดนนั้นมีเรื่องเล่าเป็นของตนเองและมีความสำ�คัญ เนื่องจาก ได้รับผลกระทบจากการกำ�หนดนโยบายของรัฐบาลส่วนกลางไม่โดยตรงก็โดยอ้อม ฉะนั้นเมืองชายแดนจึง มีลักษณะเป็นพื้นที่ที่สาม (Third Space) ตามทัศนะของ โทมัส เนล [Nail 2016] และธนเชษฐ วิสัย จร [Wisaijorn 2018] กล่าวคือมีลักษณะเฉพาะและลักษณะผสมในการตีความเชิงพื้นที่และเวลา โดย บางครั้งผู้คนก็ยึดการตีความพื้นที่และเวลาตามที่รัฐกำ�หนด คือเขตแดนของรัฐต้องแยกออกจากกัน หากจะ ข้ามเขตแดนต้องผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองจากรัฐ แต่บ่อยครั้งผู้คนกลุ่มเดียวกันนั้นก็ละเลยข้อกำ�หนด ดังกล่าว 1 หมายเหตุ บทความนี้ได้ใช้คำ�จำ�กัดความดังนี้ 1. border แปลว่า ชายแดน 2. boundary แปลว่า เส้นอาณาเขต 3. limit แปลว่า เขตขัณฑ์ 4. territory แปลว่า เขตแดน 5. territorial sovereignty แปลว่า อำ�นาจอธิปไตยเหนือ ดินแดน

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQwMDk=